Thursday, Mar 28th

Last update12:59:56 AM GMT

Font Size

Cpanel

แนวทางการพัฒนา/นโยบาย

วัตถุประสงค์ขององค์การบริหารส่วนตำบล

1. เพื่อเป็นการกระจายอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสู่ท้องถิ่น
2. เพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกผู้แทนระดับตำบล
3. เพื่อให้องค์กรประชาชน       (อบต.มีอำนาจการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาตำบลด้วยตนเอง) เพื่อให้เกิดระบบการควบคุม   ตรวจสอบ   ระหว่างสมาชิกสภา อบต.และคณะผู้บริหาร อบต.
4. เพื่อระดมทุน งบประมาณ รายได้ ทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่น ๆ  ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
5. เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล   พ.ศ. 2537   และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่  5)  พ.ศ. 2546
6. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการปกครองตนเอง
7. เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

นโยบายการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล

      1) นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
      ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  ประเภทสาธารณูปโภค  สาธารณูปการ  เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก     สะบาย  โดยมีแนวทางการดำเนินการดังนี้
            1.1  ดำเนินการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่จำเป็น  อาทิเช่น  ถนน  ท่อระบายน้ำ  ไฟฟ้า  แหล่งน้ำ  สะพานข้ามคูคลอง  ในส่วนที่จำเป็นและยังขาดอยู่
            1.2 ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคที่มีอยู่ให้มีสภาพสมบูรณ์ใช้การได้ดี
            1.3 ดำเนินการเร่งรัดปรับปรุงไฟฟ้าแสงสว่าง   และขยายเขตไฟฟ้าให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน

      2) นโยบายทางด้านสังคม
      ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษา  การสาธารณสุข  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  
            2.1 ด้านการศึกษา  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม 
            -  จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  จัดสรรงบประมาณเป็นทุนการศึกษา และอุปกรณ์ส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน  ที่ด้อยโอกาส 
            -  ดำเนินการจัดให้มีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี  และวัฒนธรรมพื้นบ้านในรูปแบบต่าง  ๆ  เช่น  การจัดทำโครงการลานดนตรี  ลานวัฒนธรรม  จัดกิจกรรมงานประเพณีต่าง  ๆ   รวมทั้งการสนับสนุนทุกหมู่บ้านในการร่วมอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี
            -  ด้านการศาสนา  ร่วมมือกับทางวัดในการจัดกิจกรรมทางศาสนา  เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของประชาชน  
            -  พัฒนาปรับปรุงศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี  มีการจัดการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพ  และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน  
            2.2 ด้านการสาธารณสุข  
            -  สนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน  สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มชมรมออกกำลังกาย     ต่าง  ๆ
            -  ร่วมมือกับศูนย์สุขภาพชุมชน  ในการปรับปรุงการให้บริการด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากยิ่งขึ้น  
            -  พัฒนาปรับปรุงงานด้านการรักษาความสะอาด  การกำจัดขยะมูลฝอยให้ทั่วถึง  ให้มีขยะตกค้างในแต่ละวันน้อยที่สุด  ริเริ่มโครงการคัดแยกขยะจากครัวเรือน  โครงการธนาคารขยะในโรงเรียน
            -  ดำเนินการป้องกันและกำจัดโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่เกิดขึ้น  พร้อมอบรมให้ความรู้  ด้านการป้องกันการติดต่อของโรคที่เกิดขึ้นและยังไม่เกิดขึ้นให้แก่ประชาชน
            -  พัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อม  ในหมู่บ้านโดยสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา  เช่น  โครงการหน้าบ้านน่ามอง  
            2.3 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
            -  สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ 
            -  สนับสนุนกิจกรรมชุมชน / หมู่บ้านเข้มแข็ง  เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  และเอาชนะยาเสพติดได้อย่างเด็ดขาดและยั่งยืน
            -  สนับสนุนโครงการขับขี่รถปลอดภัย  โดยการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการขับขี่อย่างถูกต้องและปลอดภัย
            2.4 ดูแลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสที่ขาดผู้ดูแลให้มีความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานที่ดีพอ
      
      3) นโยบายด้านเศรษฐกิจ

            3.1 การพัฒนารายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล  เพื่อให้มีรายได้เพียงพอที่จะนำไปพัฒนาในด้านต่าง ๆ ตามนโยบายที่ได้วางไว้  ในส่วนการจัดเก็บรายได้  จะดำเนินการให้มีการจัดเก็บอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม  ปรับปรุงกระบวนการจัดเก็บโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเอามาใช้จัดทำระบบแผนที่ภาษีให้สมบูรณ์ครบถ้วน  เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการชำระภาษีมากขึ้น  ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องจัดหางบประมาณจากภายนอกมาสนับสนุนการดำเนินงาน  โดยทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ 
            3.2 การพัฒนารายได้ของประชาชน  
            - ส่งเสริมจัดสรรงบประมาณ  สนับสนุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ  สนับสนุนส่งเสริมการผลิตภาคเกษตรกรรม  โดยเน้นเกษตรอินทรีย์  การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี  เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร  
            - สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและการผลิตสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล  เพื่อให้สามารถแข่งขันในท้องตลาดได้  พร้อมจัดหาตลาดในการจัดจำหน่าย
-  จัดอบรมให้ความรู้ในด้านการวางแผนและการลงทุนให้กับประชาชนผู้ต้องการประกอบธุรกิจแต่ไม่มีความรู้  ในด้านการวางแผนการลงทุน
      
      4) นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

            4.1   ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้บริเวณรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด  โดยจัดกิจกรรมเพื่อให้มีการปลูกต้นไม้อย่างต่อเนื่อง  จัดให้มีสวนหย่อม  สวนสาธารณะในตำบล
            4.2 ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์สองข้างทางทั้งตำบล พัฒนาแหล่งท่องเที่ยววนอุทยานเขากระโดง    
            4.3 สนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชน  องค์กรเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์  รักษา  ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม  ในทุกขั้นตอน
      
      5) นโยบายด้านการเมืองการบริหาร

            5.1 การบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล  ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  โดยเปิดโอกาศให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล  ในทุกขั้นตอน  การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้  ปรับปรุงให้หน่วยงานต่าง ๆ พัฒนากระบวนการทำงาน  ให้สามารถเป็นหน่วยงานที่ให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว  มีประสิทธภาพ
            5.2 เร่งรัดพัฒนา  เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน  นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อให้สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ  จัดให้มีการฝึกอบรมสัมนาและพัฒนาพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลและลูกจ้างอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเพิ่มขีดความรู้ความสามารถและพัฒนาให้เกิดจิตสำนึกในการให้บริการ  เพื่อให้สามารถให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว  มีประสิทธภาพ  และประชาชนพึงพอใจ
            5.3  พัฒนาระบบศูนย์รวมการให้บริการ  (One  Stop  Service)  เพื่อให้ประชาชนไม่ต้องเสียเวลาในการไปติดต่อราชการในหลายที่  อันเป็นการประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชน
            5.4 เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชนในพื้นที่สามารถตรวจสอบ และรับรู้ข่าวสารของทางราชการได้อย่างทั่วถึง

You are here Home